เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกเปิด ร้านขายน้ำส้มคั้น ทำน้ำส้มคั้นสดจำหน่ายเอง เนื่องจากสามารถทำเป็นงานเสริมจากงานประจำได้ หากขายจำนวนไม่มากก็ทำคนเดียวได้อย่างสบาย ลงทุนไม่สูง แหล่งซื้อวัตถุดิบมีให้เลือกมากมาย ขายออกง่าย ผู้คนนิยมดื่มเพราะมีวิตามิน C สูง แถมอร่อย สดชื่น
แต่กว่าที่ใครสักคนจะเข้ามาโลดแล่นในวงการนี้ได้อย่างเฉิดฉาย จน ร้านขายน้ำส้มคั้น ของตนเองเป็นที่รู้จัก ต้องผ่านการลองผิดลองถูกมาด้วยกันทั้งสิ้น ขาดทุนบ้าง กำไรบ้าง โดยอย่าลืมว่าการเลือกอุปกรณ์ วัตถุดิบที่ดี และการคำนึงถึงต้นทุน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเปิดร้านขายน้ำส้มคั้นนั่นเอง
และวันนี้เรามีแนวทางวางแผนธุรกิจ ร้านขายน้ำส้มคั้น ให้ทุนต่ำกำไรสูง มาฝากกัน…
ต้นทุนการผลิตน้ำส้มคั้นสดจำหน่าย
วัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักๆ ของร้านขายน้ำส้มคั้น คือส้ม ซึ่งหากจะผลิตน้ำส้มคั้นสดให้ได้ครบทั้งรสชาติ กลิ่น และสีสัน อาจต้องเลือกส้มหลายสายพันธุ์มาผสมกัน อย่างเช่นสูตรของบริษัท Orgeness จะใช้ผลส้มจาก 3 สายพันธุ์ คือ สายน้ำผึ้ง ส้มเขียวหวาน และส้มโชกุน เพื่อให้ได้ทั้งรูป รส กลิ่น และประโยชน์ครบทุกด้าน
แต่ถ้าต้องการลดต้นทุนวัตถุดิบ อาจเลือกส้มเพียงสายพันธุ์เดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้พันธุ์สายน้ำผึ้ง เพราะมีความโดดเด่นในเรื่องของกลิ่นหอมชัดเจน และเนื้อส้มเยอะ โดยเลือกส้มขนาดประมาณเบอร์ 3 เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำเยอะ และราคาไม่สูงมาก ราคาจะอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 20-45 บาท (ช่วงเดือน พ.ค.67)
ดังนั้น ส้มขนาดเบอร์ 3 จำนวน 1 กิโลกรัม จะคั้นได้น้ำประมาณ 35-37% หรือได้น้ำส้มประมาณ 350 ml. มีต้นทุนอยู่ที่ 20-45 บาท
อุปกรณ์
อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับร้านขายน้ำส้มคั้น คือ เครื่องคั้นน้ำส้ม ซึ่งมีให้เลือกหลายขนาด หลายราคา หลายยี่ห้อ และคุณสมบัติแตกต่างกัน ร้านขายน้ำส้มคั้นทำเอง ควรเลือกเครื่องคั้นน้ำส้มที่มีกำลังการผลิตรองรับต่อปริมาณน้ำส้มที่คาดว่าจะขาย เพื่อให้เครื่องคั้นน้ำส้มทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อย่างเช่นเครื่องคั้นน้ำส้มแบบคั้นมือ จะต้องใช้แรงกดเยอะ แต่แรงมากไปก็จะทำให้เกิดรสขมของเปลือกส้มติดมาด้วย
นอกจากนี้ให้เลือกเครื่องคั้นน้ำส้มที่ทำจากสเตนเลส เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราปนเปื้อนในน้ำส้มคั้น ซึ่งราคาค่อนข้างสูง เช่นเครื่องคั้นน้ำส้มแบบคั้นมือ ราคาประมาณ 300 บาทขึ้นไป จนถึงหลักพัน และหากต้องการผลิตน้ำส้มคั้นจำหน่ายในปริมาณมาก ก็จำเป็นต้องใช้เครื่องคั้นน้ำส้มระบบเครื่องจักร ก็จะยิ่งเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้สูงขึ้นอีก
แพ็กเกจจิงขวด ฉลากสินค้า
นอกจากต้นทุนของวัตถุดิบอย่าง “ส้ม” และอุปกรณ์สำคัญอย่าง “เครื่องคั้นน้ำผลไม้” แล้ว แพ็กเกจจิงอย่างเช่น “ขวดและสติกเกอร์ ฉลากสินค้า” ก็ถือเป็นต้นทุนที่จำเป็นต่อการผลิตน้ำส้มคั้นสดจำหน่าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เป็นขวดพลาสติก PP และขวดแก้ว ซึ่งก็จะเป็นตัวกำหนดราคาต้นทุนของน้ำส้มคั้นต่อขวดด้วย
โดยหากเลือกเป็นขวดพลาสติก PP ซึ่งเป็นขวดที่มีลักษณะพลาสติกแข็ง ทนความร้อนได้ดี ราคาจะอยู่ที่ประมาณขวดละ 1-3 บาท (ขวด+ฝา ขนาด 300 CC) แต่ถ้ากลุ่มลูกค้าเป็นระดับพรีเมียม และเพื่อให้ดูหรูหราดูดีขึ้น ก็จะนิยมใช้เป็นขวดแก้ว ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความต้านทานต่อแรงกดและแรงดันภายในสูง ขนาด 200-250 CC ราคาอยู่ที่ประมาณขวดละ 8-10 บาท
ส่วนสติกเกอร์หรือฉลากสินค้า ราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนสีที่พิมพ์ รวมถึงต้องซื้อในปริมาณมากจึงจะได้ราคาถูกลง ก็ต้องคำนวณต้นทุนในส่วนของสติกเกอร์ด้วย
ค่าแรง ค่าน้ำมัน ค่าล้างส้ม ล้างขวด
แน่นอนว่าเมื่อมีการผลิตน้ำส้มเพื่อจำหน่าย ก็ต้องมีค่าแรงการผลิต ทั้งในส่วนของการทำความสะอาด คั้นน้ำส้ม ทำความสะอาดฆ่าเชื้อขวดก่อนนำมาใช้ บรรจุขวด เป็นต้น ซึ่งหากทำขายเองไม่มากอาจสามารถทำเองได้ ก็จะประหยัดต้นทุนค่าแรงของตนเองได้
แต่นอกจากนี้ยังมีต้นทุนในการเดินทางซื้อวัตถุดิบ ส่งสินค้าในกรณีที่ซื้อจำนวนมาก ต้องมีการวิ่งไปส่งให้เอง ก็ต้องคำนวณต้นทุนในส่วนนี้เพิ่มด้วย ตัวอย่างเช่น ต้องส่งน้ำส้มคั้นสดบรรจุขวดปริมาณมาก ต้องวิ่งไปส่งระยะทาง ไป-กลับ 30 กิโลเมตร ก็จะได้เป็นค่าเดินทาง 30 x 2 = 60 บาท
ตัวอย่างการคำนวณต้นทุนการผลิตน้ำส้มคั้นบรรจุขวด
เมื่อลองคำนวณต้นทุนคร่าวๆ จากข้อมูลข้างต้นแล้ว จะพบว่า…
– ส้ม 1 กิโลกรัม คั้นเป็นน้ำส้มได้ประมาณ 350 ml. ซึ่งบรรจุลงขวดขนาดเล็ก 300 cc จะได้ประมาณ 1 ขวด นิดๆ ราคาประมาณ 15 บาท
– ค่าขวดพลาสติก PP ขนาด 300 cc ราคา 2 บาท/ขวด (ต้องสั่งขั้นต่ำ 150 ขวด)
– สติกเกอร์ชิ้นละประมาณ 0.5 บาท (ต้องสั่งจำนวนเยอะ)
และเมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อขวด ยังไม่นับรวมวัตถุดิบอื่น เช่น น้ำเชื่อม เกลือ ค่าส่ง (ถ้ามี) = 15 + 2 + 0.5 บาท = 17.5 บาท แต่ร้านขายน้ำส้มคั้นทำเอง จะต้องเผื่อใจไว้สำหรับต้นทุนไม่คงที่ ราคาวัตถุดิบมีขึ้นลง คุณภาพ รสชาติของส้มก็ไม่คงที่ หากผลิตเองแบบไม่ได้มาตรฐานจะไม่สามารถควบคุมได้เลย
อีกทั้งถ้าหากผลิตน้ำส้มคั้นสด ปิดฝา ปิดผนึก แต่ไม่ได้ขายเองโดยส่งไปขายที่อื่น จะเข้าหลักเกณฑ์ อย. ซึ่งต้องขออนุญาต อย. ก่อน รวมถึงหากผลิตในปริมาณมาก จะต้องจดทะเบียนสรรพสามิตสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมด้วย
ตัวช่วยลดต้นทุนเพิ่มกำไรที่โรงงานผลิตน้ำส้มคั้นบรรจุขวด Orgeness
ทั้งนี้ หากเจ้าของธุรกิจเลือกใช้บริการผลิตน้ำส้มคั้นบรรจุขวดจากโรงงานผลิตที่ได้คุณภาพอย่างเช่นที่ Orgeness สามารถคำนวณต้นทุนคร่าวๆ ได้ คือ
– น้ำส้มขนาด 220 ml. 100 ขวด (ราคาส่งขวดละ 13.50 บาท) = 1,350 บาท
– นำไปจำหน่ายราคาปลีกต่อขวด ได้ขวดละ 35 บาท (100 ขวด) = 3,500
– จะได้กำไร = 2,150 บาท
ดังนั้น ร้านขายน้ำส้มคั้นอาจต้องใช้ตัวช่วย เป็นการเลือกหาโรงงานรับผลิตน้ำส้มคั้นสด ที่มีบริการครบวงจร เพื่อช่วยประหยัดต้นทุน และได้สินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างเช่นโรงงานผลิตและขายส่งน้ำส้มคั้นบรรจุขวด Orgeness ซึ่งเป็นโรงงานที่รับผลิตน้ำส้มคั้นสด และมีบริการเสริมครบวงจร สามารถรับไปจำหน่ายได้เลยแบบไม่ต้องกังวล โดยสามารถปรึกษาพูดคุยกับ Orgeness เพื่อควบคุมต้นทุนของตนเองได้